สิงคโปร์คุ้มไหม- หลัง “เศรษฐา” แฉผูกขาดคอนเสิร์ต “เทย์เลอร์ สวิฟต์”

ช่วงวันที่ 2-9 มี.ค. นี้ ถือเป็นช่วงเวลาแห่งชาวสุขของเหล่า “สวิฟตีส์” ในสิงคโปร์ เพราะเป็นสัปดาห์ที่มีการแสดงคอนเสิร์ตของ “เทย์เลอร์ สวิฟต์” ทั้ง 6 รอบ ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้และประโยชน์ในทางเศรษฐกิจให้กับสิงคโปร์ได้มหาศาล

แต่ก็มีคำถามว่า ทำไมเทย์เลอร์ถึงไม่ไปทัวร์คอนเสิร์ตสุดยิ่งใหญ่นี้ในประเทศอื่นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย บ้าง โดยหลายคนก็มองว่าอาจจะต้องใช้งบประมาณมากเกินไป

นักวิทย์ทึ่ง! พบวาฬเพชฌฆาตสุดโหด ลุยเดี่ยวล่าฉลามขาวกินเป็นอาหาร

เปิดสาเหตุคนจีนอพยพเข้าสหรัฐอเมริกา ถึงแม้เสี่ยงตายก็ยอม

รถไฟพลังแม่เหล็กจีนทุบสถิติ ทำความเร็วสูงสุด 623 กม./ชม.

ในสื่อของสิงคโปร์มีรายงานว่า ค่าใช้จ่ายของสิงคโปร์สำหรับการแสดงของ เทย์เลอร์ สวิฟต์ อยู่ที่ 24 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (เกือบ 640 ล้านบาท) แต่ เอ็ดวิน ตง รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมสิงคโปร์บอกว่า “ตัวเลขไม่ได้สูงขนาดนั้น” แต่ปฏิเสธที่จะระบุตัวเลขที่แน่นอน

อย่างไรก็ตาม สื่อสิงคโปร์คาดการณ์ว่า ค่าใช้จ่ายอาจอยู่ที่เพียง 2 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 53 ล้านบาท) เท่านั้น

 สิงคโปร์คุ้มไหม- หลัง “เศรษฐา” แฉผูกขาดคอนเสิร์ต “เทย์เลอร์ สวิฟต์”

แต่ดราม่าระหว่างประเทศเริ่มบังเกิด เมื่อในช่วงกลางเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อในทำนองว่า ที่สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวที่ได้จัด Eras Tour เป็นเพราะ สิงคโปร์พยายามทำข้อตกลงกับผู้จัดคอนเสิร์ต เพื่อป้องกันไม่ให้เทย์เลอร์ไปโชว์ที่ประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เศรษฐากล่าวว่า AEG ผู้จัดคอนเสิร์ต ได้แจ้งให้เขาทราบว่า รัฐบาลสิงคโปร์เสนอเงินอุดหนุน 2-3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 71-107 ล้านบาท) ต่อรอบคอนเสิร์ต เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงผูกขาดการแสดง

“AEG ไม่ได้บอกตัวเลขที่แน่นอนแก่ผม แต่พวกเขาบอกว่า รัฐบาลสิงคโปร์เสนอเงินอุดหนุนระหว่าง 2-3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ … แต่รัฐบาลสิงคโปร์ฉลาด พวกเขาบอกผู้จัดงานว่า อย่าไปจัดงานที่ประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายเศรษฐากล่าว ณ เวลานั้น

นายกฯ เสริมว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ประเทศไทยก็มีงบพร้อมในการสนับสนุนเช่นกัน โดยมองว่างบ 500 ล้านบาทแลกกับการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล เป็นเรื่องที่คุ้มค่า

หลังจากที่เศรษฐาให้สัมภาษณ์ไปเช่นนั้น ก็ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในฟิลิปปินส์ สมาชิกสภานิติบัญญัติรายหนึ่งวิพากษ์วิจารณ์ความเคลื่อนไหวดังกล่าว โดยบอกว่า “นี่ไม่ใช่สิ่งที่เพื่อนบ้านที่ดีพึงกระทำ” และเรียกร้องให้มีการประท้วงอย่างเป็นทางการ เพื่อต่อต้านนโยบายเงินอุดหนุนแลกกับการผูกขาดคอนเสิร์ตดังกล่าว

เทย์เลอร์นั้นเรียกได้ว่าเป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวและแฟนคลับจากหลายมุมโลกให้มาเยือนประเทศที่มีการจัดคอนเสิร์ตได้ ซึ่งจะทำรายได้อย่างมหาศาลให้กับประเทศนั้น ๆ

นอกจากนี้ ในอีกมุมหนึ่ง การมีคอนเสิร์ตเทย์เลอร์ในต่างประเทศย่อมหมายความว่าเม็ดเงินในประเทศจะไหลออกไปแทนที่จะเข้ามา ดังนั้นจึงไม่แปลก ที่ฟิลิปปินส์จะไม่พอใจ หรือแม้แต่ไทยเองก็ต้องการตัวเทย์เลอร์มาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นกัน

ถ้าถามว่าจะกระตุ้นได้ขนาดไหน ก็ขอยกตัวอย่างนักท่องเที่ยวหญิงคนหนึ่งที่บินมาจากเสินเจิ้นของจีน โดยบอกว่า เฉพาะค่าตั๋วเครื่องบิน เธอและเพื่อนก็เสียเงินกันไปคนละ 1,200 ดอลลาร์สิงคโปร์ (32,000 บาท) แล้ว

ส่วนโรงแรมที่พักต่าง ๆ ก็พากันขึ้นราคารับนักท่องเที่ยว ซึ่งไม่ว่าจะแพงแค่ไหนก็มีคนพร้อมยอมจ่าย กระทั่งแลนด์มาร์กของเมืองอย่าง มารินา เบย์ แซนด์ส ซึ่งจัดแพ็กเกจ “สวิฟต์” ให้ตั๋วคอนเสิร์ตวีไอพี 4 ใบและห้องพักระดับห้องสูท 3 คืนในราคา 50,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (1.3 ล้านบาท) ก็ขายออกหมดเกลี้ยง

อย่างไรก็ดี เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่า สิงคโปร์ถูกมองว่าเป็นฐานในภูมิภาคสำหรับการจัดงานใหญ่ ๆ มานานแล้ว ด้วยความสะอาด มีโครงสร้างพื้นฐาน มีการเชื่อมโยงการคมนาคมที่ดี และประชากรที่มีรายได้สูงและมีชาวต่างชาติจำนวนมาก

สิงคโปร์ยังถูกมองว่า มีเสถียรภาพและน่าเชื่อถือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากประเทศอื่น ๆ มักประสบกับความวุ่นวายทางการเมือง กรณีสำคัญคือเมื่อปี พ.ศ. 2557 ที่เทย์เลอร์ต้องยกเลิกการแสดงประเทศไทยเนื่องจากการรัฐประหารและการประท้วงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

และหากถามว่า การมีคอนเสิร์ต เทย์เลอร์ สวิฟต์ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงหรือ? ตัวอย่างหนึ่งคือ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นที่จัด Eras Tour ล่าสุดก่อนสิงคโปร์

เจ้าหน้าที่ออสเตรเลียระบุว่า ทัวร์คอนเสิร์ตดังกล่าวช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้ถึง 145 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (เกือบ 3.4 พันล้านบาท)

กระนั้น นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า เงินทั้งหมดนั้นไม่สามารถถูกนำมานับได้

ดร.เบรนดัน รินน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ KPMG ประมาณการว่า ผู้ชมคอนเสิร์ตมากกว่า 90% น่าจะเป็นคนในท้องถิ่น ดังนั้นเงินของพวกเขาจึง “เป็นเพียงการโอนจากการใช้จ่าย (หรือการออม) ประเภทหนึ่งไปยังอีกประเภทหนึ่งเท่านั้น”

มีเพียงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเท่านั้นที่จะนับว่าเป็นการนำรายได้เข้าประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจ และรินน์ประเมินว่า กลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วนเพียง 2% ของผู้ชม ซึ่งหลังจากคำนวณทางคณิตศาสตร์แล้ว เขาคาดการณ์ว่า คอนเสิร์ตของเทย์เลอร์จะเพิ่ม GDP เพียงได้ 10 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 230 ล้านบาท)

อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียไม่ได้ใช้งบประมาณรัฐมาใช้เพื่อให้เทยเลอร์เล่นคอนเสิร์ตในประเทศแบบที่สิงคโปร์ทำ ดังนั้นจึงอาจเทียบกันไม่ได้เสียทีเดียวว่าการตัดสินใจของสิงคโปร์จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่

สิงคโปร์กล่าวว่าทัวร์คอนเสิร์ตของเทย์เลอร์จะนำผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศ แต่จำนวนกำไรสุทธิที่จะเกิดขึ้นนั้นไม่ชัดเจน และคณะกรรมการการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ก็ปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติหรือแบบจำลองอื่น ๆ

ธนาคารเมย์แบงก์ของสิงคโปร์ประเมินว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคอาจสูงถึง 350 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (9.3 พันล้านบาท) แต่นั่นขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ในแง่ดีว่า 70% ของผู้เข้าร่วมมาจากต่างประเทศ

เอริกา เทย์ นักเศรษฐศาสตร์ของเมย์แบงก์ กล่าวว่า “คอนเสิร์ต 6 รอบอาจไม่สามารถขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ แต่คุณค่าเชิงกลยุทธ์ของสิงคโปร์ในฐานะจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวนั้นมีค่ามากกว่าการส่งเสริมเพียงครั้งเดียว”

แต่ศาสตราจารย์ด้านธุรกิจ จูเลียน เคย์ลา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ชี้ให้เห็นว่า การใช้จ่ายงบประมาณสาธารณะควรได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถูกเปิดเผยโดยรัฐบาลของประเทศอื่น และในประเทศที่สวัสดิการค่อนข้างจำกัด เรื่องนี้อาจถูกมองว่าเป็นการใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง

“การใช้จ่ายมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สิงคโปร์กับบางสิ่งที่ภายนอกอาจดูเหมือนไม่มีความสำคัญต่อสุขภาพทางเศรษฐกิจของประเทศมากไปกว่าการใช้จ่ายกับประชาชนและบริการสาธารณะ … มันอาจทำให้เกิดความตึงเครียดได้” เคย์ลากล่าว

เขาบอกว่า ในทางหนึ่ง สิงคโปร์นำคอนเสิร์ตเทย์เลอร์เข้ามาในลักษณะเดียวกับที่ดึงดูดบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ในปัจจุบัน “สิ่งที่แตกต่างคือ หากมอง เทย์เลอร์ สวิฟต์ ในฐานะธุรกิจ นี่ก็เป็นธุรกิจที่เกี่ยวพันกับอารมณ์มาก … มันคือการจัดการกับอารมณ์ของเด็กอายุ 10-18 ปี ที่ต้องเสียใจมากที่ไม่ได้เห็นคอนเสิร์ตเกิดขึ้นในกรุงเทพหรือจาการ์ตา”

เรียบเรียงจาก BBC